ต้องอ่าน! เลี้ยงไก่ให้ประสบผลสำเร็จ

วันนี้แอดมินมีเทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้เราเลี้ยงไก่ให้รอด หลายท่านอยากจะทำอาชีพเลี้ยงไก่ แต่ไม่รู้ต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ จงจำไว้ว่า เทคนิคที่จะนำมาบอกนี้ เราควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพไก่จะได้มีชีวิตที่ยืนยาว ออกไข่ได้นาน ๆ เราก็จะไม่ขาดรายได้และ

สามารถทำให้กิจการไก่ไข่เจริญงอกงามตลอดไปนั่นเองค่ะ

ต้องอ่าน! เลี้ยงไก่ให้ประสบผลสำเร็จ

 

1. ควบคุมต้นทุนอาหาร ต้องไม่แพงจนเกินไป
อาหารสำเร็จรูปเป็นปัญหาหลัก ๆของการเลี้ยงไก่ หากอาหารสำเร็จรูปมีราคาแพงจนเกินไป จะทำให้เราขาดทุนในเรื่องการขายไข่ได้ แต่ถ้าหากเราขายไข่ในราคาแพงจนเกินไป ก็จะทำให้เราขายไข่ไม่ได้เช่นกัน อาหารสำเร็จรูปราคาที่แนะนำคือกระสอบละไม่เกิน 450 บาท ค่ะ เพราะราคานี้ ยังถือว่าขายไข่ได้กำไรอยู่บ้าง แต่ถ้าสำรวจเรื่องราคาอาหาร แล้วแพงกว่า 450 บาท แนะนำว่า ให้ปรับราคาไข่ไก่ขึ้นอีก โดยให้ขายไข่แผงละ 110 บาท ถึง แผงละ 140 บาท เพื่อให้เหมาะสมกับราคาอาหารไก่ไข่ด้วยค่ะ

2. ตวงอาหารไก่ทุกวัน

การให้อาหารไก่ หากให้ตามใจเราไม่เพียงแต่ทำให้ไก่ออกไข่ไม่สม่ำเสมอแล้วนั้น ยังทำให้เราขาดทุนเรื่องอาหาร หรือบางครั้ง ไก่ออกไข่ได้ไม่ตามเป้า ทำให้เสียเวลาและขาดรายได้ เพราะไก่พันธุ์ไฮบริดมีระยะเวลา อายุการออกไข่ที่สั้น ฉะนั้นแล้ว การมีตาชั่งไว้ตวงอาหารถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เราไม่ควรมองข้าม

3. เทคนิคการให้อาหาร

เทคนิคการให้อาหารไก่ไข่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ทำให้ไก่ของเราออกไข่ได้ดีขึ้นและออกไข่อย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยปกติแล้ว ไก่ไข่สาวจะกินอาหารวันละ 100-120 กรัมต่อตัวต่อวันค่ะ

4. ยารักษาโรคอย่าขาด
ยารักษาโรค เป็นสิ่งที่ควรพึงมีไว้ติดฟาร์มไว้ เมื่อไก่ป่วยเราก็ทำการรักษาให้กินยาได้ทันท่วงที ไก่ก็จะไม่ตาย ถ้าไม่มียาไว้เลย หากไก่ป่วยกระทันหัน มีโอกาสที่ไก่จะตายได้ หรือเกิดโรคระบาดติดตัวอื่น ๆ ควรมียาติดฟาร์มไว้ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้หวัดหรือแก้อักเสบจะช่วยให้เรารักษาชีวิตไก่ไว้ได้หรือ โรคไม่แพร่กระจาย หากไก่ตายทั้งเล้า โอกาสขาดทุน เจ๊ง ก็มีสูงเช่นกันค่ะ ยาที่แนะนำคือ
-เบต้าไมซิน หรือเอนโร-100 แก้หวัด
-ด็อกซี่ซอลแก้อักเสบ
-ซันฟาเมทแก้ท้องร่วง
-วิตามินบำรุงผสมอาหารไฮโคมิกซ์ช่วยให้เปลือกไข่หนา บำรุงกระดูก ป้องกันไก่ตายเฉียบพลัน หาสาเหตุไม่ได้เนื่องจาก แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
-วิตามินรวมละลายน้ำบำรุงเลือด
5. ทำความสะอาดเล้าอยู่สม่ำเสมอ
พื้นที่รอบ ๆ เล้าไก่ หรือภายในโรงเรือนควรที่จะแห้งและปลอดโปร่งอยู่เสมอ พื้นในเล้าไก่ไม่ควรที่จะชื้นแฉะหรือมีกลิ่นของแอมโมเนียกลิ่นฉี่ไก่ เพราะจะทำให้ไก่สำลักกลิ่นฉี่ตัวเองตายได้ พื้นที่เปียกแฉะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค อาจทำให้ไก่เป็นโรคทางเดินอาหาร อหิวาต์

โรคติดต่อบางชนิด เมื่อไก่เป็นแล้วจะติดต่อกัน ทำให้ไก่ตายทั้งเล้าหรือมีผลกระทบต่อไก่บริเวณใกล้เคียงได้ค่ะ

6. ล้างภาชนะให้สะอาด
ไม่เพียงแต่เล้าไก่ที่สะอาดเท่านั้น ภาชนะ ก็แนะนำให้ทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราภายในภาชนะไก่ เพื่อให้ไก่สุขภาพดีตลอดและ

ไม่ป่วยง่าย ๆ นั่นเองค่ะ

7. สุขภาพของคนเลี้ยง

หากไก่ของเราสุขภาพดีแล้ว สุขภาพของผู้ที่ให้อาหารไก่ หรือผู้ที่เป็นโรคหวัดไม่ควรที่จะเข้าเล้าไก่และไม่ควรที่จะเป็นคนให้อาหารไก่เด็ดขาด ไก่สามารถติดเชื้อหวัดจากเราได้ง่าย ๆ ด้วยเช่นกันไม่เพียงแต่ติดโรคจาก นก หนู หรือสิ่งสกปรกภายในเล้าแล้ว คนที่ป่วย ถ้าไปคลุกคลีหรืออยู่ในบริเวณเล้าไก่ ก็แพร่เชื้อโรคให้ไก่ได้เช่นกันค่ะ
————————————
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ได้ที่เว็บไซต์
https://ฟาร์มไก่ไข่พัชรี.com
สนใจไก่ไข่สาว สอบถาม/สั่งซื้อ ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/ThaiEggs
ฟาร์มไก่ไข่พัชรี มุกดาหาร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *